เอ็งมาข้ามุด เอ็งหยุดข้าแหย่
เอ็งเเย่ข้าตี เอ็งหนีข้าตาม
การบังคับใช้กฎหมาย
วิธีการประกาศใช้กฎหมาย การประกาศใช้กฎหมาย เช่น รัฐะรรมนูญ พระราชบัญญัติ
ประมวลกฎหมาย พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง และ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
ประกาศของคณะปฏิวัติ หรือของคณะปฏิรูป ต้องประกาศให้ประชาชนทราบใน "หนังสือ ราชกิจจานุเบกษา" ซึ่งเป็นหนังสือประกาศข่าวของทางราชการ กฎหมายที่ประกาศใช้เฉพาะท้องถิ่น เช่น
* ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ประกาศใช้ในหนังสือกรุงเทพกิจจานุเบกษาและหนังสือราชกิจจานุเบกษา
* เทศบัญญัติ ประกาศให้ประชาชนทราบที่ป้ายประกาศข่าวทางราชการของเทศบาล ณ หน้าที่ทำการเทศบาล
* ข้อบัญญัติเมืองพัทยา ประกาศให้ประชาชนทราบที่ป้ายประกาศข่าวทางราชการของเมืองพัทยา ณ หน้าที่ทำการเมืองพัทยา
* ข้อบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ประกาศให้ประชาชนทราบที่ป้ายประกาศข่าวทางราชการของ อบจ. ณ หน้าที่ทำการของ อบจ.
* ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล ประกาศให้ประชาชนทราบที่ป้ายประกาศข่าวทางราชการของอบต. ณ หน้าที่ทำการ อบต.
วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย วันเริ่มบังคับใช้กฎหมายอาจกำหนดแตกต่างกัน คือ
1. บังคับใช้ในวันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เป็นกฎหมายที่ต้องการบังคับใช้อย่างเร่งด่วน
2. บังคับใช้ในวันถัดจากวันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา คือกำหนดให้ประชาชนทราบล่วงหน้าหนึ่งวัน
3. บังคับใช้ในอนาคต เพื่อแจ้งให้ประชาชน เจ้าหน้าที่ หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องทราบล่วงหน้า จะได้เตรียมตัว เตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ หรืออื่น ๆ ตัวอย่าง เช่น
3.1 ประมวลกฎหมายอาญา ประกาศใช้ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา วันที่ 15 พฤศจิกายน 2499
ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญาให้บังคับใช้ในวันที่ 1มกราคม 2500
3.2 พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 2 บัญญัติว่า ให้บังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน
นับแต่วันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษา
3.3 พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 มาตรา 2 บัญญัติว่า ให้บังคับใช้ตั้งแต่วันถัด
จากวันที่ประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และจะให้ใช้บังคับในท้องที่ใด พื้นที่ใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา วันเริ่มบังคับใช้กฎหมาย ส่วนใหญ่ไม่กำหนดวันเริ่มใช้บังคับย้อนหลัง เว้นแต่บังคับใช้ย้อนหลังแล้วเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเพิ่มเงินเดือนแก่ข้าราชการครู การนิรโทษกรรมในเหตุการณ์สำคัญของประเทศ
อาณาเขตที่กฎหมายใช้บังคับ
1. กฎหมายไทยย่อมใช้บังคับในราชอาณาจักรไทย แต่มีการยกเว้นในกรณีที่สภาพทางภูมิศาสตร์และสังคมหรือความพร้อมไม่เพียงพอเฉพาะบางพื้นที่ เช่น ความผิดทางแพ่งที่เกียวกับเรื่องครอบครัวมรดก ของบุคคลที่นับถือศาสนาอิสลามและอาศัยอยู่ในสี่ จังหวัดภาคใต้ของไทย ให้ใช้กฎหมายอิสลาม การตัดสินคดีต้องมีดะโต๊ะยุตืธรรมร่วมพิจารณาคดีด้วย เป็นต้น
2. กฎหมายไทยใช้บังคับออกไปนอกราชอาณาจักรไทย ได้ เช่น
2.1 ความผิดทางอาญาทุกประเภทที่เกิดในเรือไทย หรือในอากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยูณ ที่ใด ต้องรับโทษในราชอาณาจักรไทย
2.2 เจ้าพนักงานของรัฐบาลไทย กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่นอกราชอาณาจักร ต้องรับโทษในราชอาณาจักรไทย
2.3 ความผิดต่อความมั่นคงต่อราชอาณาจักรไทย แม้เกิดนอกราชอาณาจักร ต้องรับโทษในราชอาณาจักรไทย
2.4 ความผิดฐานชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ที่เกิดในท้องทะเลหลวง ต้องรับโทษในราชกาณาจักรไทย
2.5 ความผิดทางแพ่ง จะใช้กฎหมายของประเทศใดบังคับ ต้องศึกษา พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายพุทธศักราช 2481บุคคลที่กฎหมายใช้บังคับ คือทุกคนที่อาศัยอยู่ในราชกาณาจักรไทย การบังคับใช้กับบุคคล ใช้หลักดินแดน แต่มีการยกเว้นให้กับบุคคล เช่น
1. ยกเว้นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทะศักราช 2540 ได้แก่ องค์พระมหากษัตริย์
2. ยกเว้นตามกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง ได้แก่ประมุขของรัฐ ฑูต